เวลาเอาบัตรเครดิตไปใช้ต่างประเทศ เรามักจะเคยได้ยินคำว่า “ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ” หรือ “ค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

 

การเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากการแลกเงินแล้ว

ยังมีการใช้บัตรเครดิตที่ต่างประเทศ เพื่อจองโรงแรม / จองตั๋วเครื่องบิน/ ช้อปปิ้ง ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ

มีค่าธรรมเนียมอะไรบ้างมาดูกันเลย

 

 

ค่าธรรมเนียมการบัตรเครดิตใช้ต่างประเทศมีอะไรบ้าง ?

ปกติแล้วเวลาเราเอาบัตรเครดิตไปซื้อของต่างประเทศ (รวมถึงการเบิกเงินสด) เป็นสกุลเงินต่างประเทศ

จะถูกเรียกเก็บเป็นเงินบาทไทย (THB) ตามอัตราแลกเปลี่ยน

ที่ธนาคารถูกเรียกเก็บจากบริษัทบัตรเครดิต เช่น VISA / MasterCard / JCB / UnionPay

ณ วันที่มีการเรียกเก็บยอดค่าใช้จ่าย

แต่ถ้าสกุลเงินต่างประเทศดังกล่าว ไม่ใช่เป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD)

ยอดนั้น ๆ จะถูกแปลงเป็นสกุลเงิน USD ก่อนที่จะทำการ แปลงเป็นสกุลเงินบาท THB

เช่น ถ้าเอาบัตรเครดิตไปซื้อของที่ญี่ปุ่นเป็นเงินเยน จะคิดจาก JPY -> USD -> THB

แต่ถ้าเอาไปรูดที่สหรัฐอเมริกา เป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐ (USD) ก็จะคิดจาก USD -> THB เลย

 

โดยการอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนได้:

กรณีบัตร VISA:
http://usa.visa.com/personal/card-benefits/travel/exchange-rate-calculator.jsp

กรณีบัตร MasterCard:
https://www.mastercard.com/global/currencyconversion/index.html

กรณีบัตร JCB:
http://www.jcb.co.jp/r/globalrate.html

กรณีบัตร UnionPay:
http://en.unionpay.com/front_ExchangeRate.html

 

ที่นี้หลังจากที่มีคิดการแปลงสกุลเงินต่างประเทศแล้ว

ธนาคารจะคิดค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน หรือ Foreign exchange risk อีกที

เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการแปลงสกุลเงินดังกล่าวข้างต้น

 

แล้วแบบนี้รูดบัตรเครดิตต่างประเทศ ใช้บัตรเครดิตธนาคารไหนดี ?

จากที่ไปหาข้อมูลจากเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ ก็พบว่า แต่ละธนาคารจะคิดค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน “ไม่เท่ากัน” เช่น

บัตรเครดิตธนาคาร ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน
ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ไม่เกิน 2% ของยอดค่าใช้จ่าย
ซิตี้แบงค์ (Citibank) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารกรุงไทย (KTC) ไม่เกิน 2% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิตเซ็นทรัล (Central Card) ไม่เกิน 2% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารทหารไทย (TMB) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิตเทสโก้-โลตัส (Tesco) ไม่เกิน 2% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารธนชาติ (Tanachart) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารแห่งประเทศจีน ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารยูโอบี (UOB) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
อเมริกัน เอ็กซ์เพรส ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
เฟิร์สช้อยส์ (FirstChoice) ไม่เกิน 2% ของยอดค่าใช้จ่าย
อิออน (AEON) ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
ไอซีบีซี (ICBC) ไม่เกิน 2% ของยอดค่าใช้จ่าย

 

จากข้อมูลค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินด้านบนจะเห็นได้ว่า

บัตรเครดิตที่คิดเรทดี ก็มี บัตรเครดิตของ Krungsri / KTC / Central Card / etc. ที่คิดเป็น 2% ของยอดค่าใช้จ่ายเท่านั้น

แต่ทั้งนี้จะดูแต่เรทนี้ไม่ได้ เพราะยังมีเงื่อนไขการคิดเงินอีก

เช่น ถ้าเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นใช้เงินสกุลเยน JPY (เป็นประเทศที่ไม่ได้ใช้สกุลเงิน USD)

แนะนำให้ใช้บัตรเครดิต JCB เพราะเรทดีกว่า อ่านเพิ่มเติมได้ที่ …

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คุณรู้สึกอย่างไรกับ "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ คืออะไร ??"
Comment กันได้เลย ...
You can follow tung148, the author of this post, on Twitter and Facebook. If you'd like to contact him, Twitter is the most effective means of doing so.