ตอนนี้กระแสการ ลดการใช้เงินสด Cashless Society เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ธนาคารต่าง ๆ ออกโปรเครื่องรูดบัตรเครดิต EDC มาให้ร้านค้าได้ใช้กัน
เพื่อเป็นการตอบรับนโยบายรัฐ National e-Payment
หลังจากที่มีการเริ่มใช้พร้อมเพย์ เมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
และกระตุ้นให้ประชาชนมีการขยายการใช้บัตร
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
เพียงใช้บัตรเดบิตชำระเงิน ไม่ต้องพกเงินสดเพื่อชำระค่าสินค้า
พร้อมกับเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและร้านค้าให้ได้รับประโยชน์จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น
ทางธนาคารต่าง ๆ เลยออกโปรบริการเครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture) สำหรับร้านค้านิติบุคคล
วันที่ 13 มีนาคม 2560 “อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ประกาศความคืบหน้าอีกขั้นด้วยการทำข้อตกลงร่วมกับ 7 ธนาคาร
ที่ได้รับคัดเลือกให้วางอุปกรณ์รับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องรูดบัตร (EDC)
ซึ่งมี 2 กลุ่ม ได้แก่“กิจการการค้าร่วมโครงการอีเพย์เมนต์”
ซึ่งมีธนาคารกรุงเทพ (BBL) ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
และอีก 5 ธนาคารจับมือกันในนาม “TAPS” (Thai Alliance Payment System) ได้แก่
ธนาคารกรุงไทย (KTB) / ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) / ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)
ธนาคารทหารไทย (TMB) / ธนาคารธนชาต (TBANK)
โดยทั้ง 7 ธนาคาร มีหน้าที่ติดตั้งเครื่อง EDC แก่ร้านค้าและหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ
ตามรายชื่อที่คลังมอบหมายให้ทั้งหมด 560,000 จุด
ซึ่งในจำนวนนี้มี 18,000 เครื่องที่ติดตั้งในหน่วยงานราชการ
ส่วนความพิเศษที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้คือ
ค่าธรรมเนียม (ค่า Fee) รับชำระผ่านบัตรจะไม่เกิน 0.55% ต่อรายการ
จากเดิมจ่ายกันที่1.5-2.5% ต่อรายการ และกรณีรูดบัตรชำระเงินที่หน่วยงานรัฐฟรี 2 ปีแรก
จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปัจจุบันคนไทยถือบัตรเดบิตจำนวน 54 ล้านใบ
ส่วนใหญ่ใช้เป็นบัตรเอทีเอ็มกดเงินสดเท่านั้น
ทั้งที่เรามีโครงสร้างพื้นฐาน
ดังนั้นจึงต้องผลักดันให้ประชาชนใช้บัตรเดบิตเพื่อการชำระเงินมากขึ้น
เพื่อลดการใช้เงินสดที่มีต้นทุนสูงมาก ซึ่งภาครัฐจะมีการแจกรางวัล เพื่อจูงใจผู้ใช้บัตรเดบิตและร้านค้ารับบัตร
โดยธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ในฐานะพันธมิตร
ได้จับมือร่วมกันในชื่อ “กิจการการค้าร่วมโครงการอีเพย์เม้นต์“
ได้รับการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแล
ผู้ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงการคลัง
เข้าร่วมดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment
ในการติดตั้งเครื่องรูดบัตร (EDC) จำนวน 550,000 รายทั่วประเทศ
ด้วยความแข็งแกร่งของฐานร้านค้ารับบัตรเครดิตเดิม
ของธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยที่รวมกันแล้วมีส่วนแบ่งตลาดถึง 70%
จะช่วยให้การดำเนินโครงการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
สำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาล
และจะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในการชำระเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของคนไทย
ทำไมร้านค้าควรใช้เครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture)
เพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขาย เพิ่มกำไร
และช่องทางในการขายสินค้ามากขึ้น (ร้านค้าสามารถรับทั้งเงินสดและบัตรเครดิต/เดบิต)
ลดภาระในการเก็บรักษาและนับเงินสด
ลดปัญหาการถูกโจรกรรม และปลอดภัยกว่าการเก็บเงินสดไว้ที่ร้าน
ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
ในการเดินทางไปฝาก/ถอนเงินที่ธนาคาร
โดยธนาคารจะโอนเงินที่ทำรายการผ่านเครื่องรูดบัตรเพื่อเข้าบัญชีร้านค้าในวันทำการถัดไป
สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับร้านค้า
ที่รับบัตรเครดิต เป็นร้านค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก
รับการสนับสนุนส่งเสริมการขายจากธนาคาร
และประชาสัมพันธ์ร้านค้ารับบัตรอย่างต่อเนื่อง
เช่นป้ายเปิดปิดประตูร้านค้า แผ่นรองเซ็นต์ แท่นวางเมนู
พื้นที่ประชาสัมพันธ์ของใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย หรือ สื่ออื่นๆ ตามความเหมาะสม
มาดูโปรเครื่องรูดบัตรของแต่ละธนาคารกัน
เริ่มที่ BBL ธนาคารกรุงเทพ ออกโปร BBL-Merchant “ธุรกิจคล่องตัว ปลอดภัยใช้งานง่าย”
โดยอัตราค่าธรรมเนียม (MDR หรือ Merchant Discount Rate)
พิเศษเพียง 0.55% สำหรับบัตรเดบิตในประเทศ
ฟรี ค่าบำรุงรักษาเครื่อง ถึงสิ้นปี 2560
ทางด้าน SCB หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ออกโปร บริการเครื่องรูดบัตร EDC สำหรับร้านค้านิติบุคคลเหมือนกัน
โดยจัดโปรแรง ค่าธรรมเนียมรูดบัตรเครดิตเพียง 1.5%
ค่าธรรมเนียมรูดบัตรเดบิตเพียง 0.55%
พร้อมฟรีค่าติดตั้งเครื่อง / ฟรีค่าสลิป / ฟรีค่ามัดจำเครื่อง
ฟรีสมุดเช็ค 3 เล่ม / ฟรีค่าเช่า / ไม่มียอดรูดขั้นต่ำ (อันนี้ดี)
สมัครได้ตั้งแต่ 30 มีนาคม – 30 เมษายน 2560
และโปรโมชั่นถึง 31 ธันวาคม 2560
TMB หรือ ธนาคารทหารไทยออกแคมเปญ “คุ้มทั้งรับจ่าย ค้าขายคล่องตัว”
โดยทีเอ็มบี จะติดตั้งเครื่องรับบัตร (EDC) ให้ฟรี ไม่มีขั้นต่ำ
และคิดค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตพิเศษเพียง 0.3%
ช่วยให้ร้านค้าเพิ่มช่องทางการรับชำระเงิน ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
ประชาชนมีทางเลือกในการจ่ายเงินมากขึ้น
ง่าย สะดวก และปลอดภัยกว่าเดิม
ค่าธรรมเนียม
ประเภทบัตร | ค่าธรรมเนียมการรับบัตร (%ของยอดขายผ่านเครื่อง EDC) |
---|---|
บัตรเดบิต (ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศไทย) | 0.30% |
บัตรเครดิต TMB | 1.00% |
บัตรเครดิตต่างธนาคารประเภท Gold/Classic | 1.80% |
บัตรเครดิตต่างธนาคารประเภท Platinum/Titanium | 2.10% |
บัตรเครดิตต่างธนาคารประเภท Signature/World/World Elite | 2.40% |
สมัครด่วนวันนี้ – 30 มิถุนายน 2560
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME
โทร.02-828-2828 ทุกวันจันทร์ – เสาร์ ยกเว้นวันหยุดธนาคาร