มาไทยแน่นอน.. Cashless Society หรือ สังคมที่ไร้เงินสด เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ หลายประเทศและประเทศไทยของเราจะใช้เงินสดกันน้อยลง

 

เป็นกระแสไปทั่วโลก กับแนวคิดเรื่อง Cashless Society

คือ การใช้เงินสดกำลังถูกแทนที่ด้วยระบบการชำระเงินดิจิทัล

ด้วยเทคโนโลยีของอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ Smartphone / Mobile Application

รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ของบริษัท FinTech ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง

ทำให้เกิดการทำธุรกรรมการชำระเงินแบบใหม่มากขึ้น

 และยังมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นแรงกระตุ้นให้ความเป็นไปได้มากขึ้น คือ

1. จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้น

2. โครงข่ายโทรคมนาคม เช่น 4G และ กระบวนการทำธุรกรรมทางด้านการเงินที่ดีและง่ายขึ้น

3. รัฐบาลพยายามผลักดันใช้ National e-payment หรือ ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรารู้จักกันว่า PromptPay

จึงทำให้เชื่อได้ว่า โลกและประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งสังคมไร้เงินสด

 

 

มาทำความรู้จัก Cashless Society สังคมที่ปราศจากเงินสด

Cashless Society หรือ บางคนเรียกว่า Cashless Economy

เป็นแนวคิดสังคมที่ปราศจากเงินสด หรือสังคมที่ไม่นิยมถือเงินสด

เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยมองว่า ความสำคัญของเงินสดในอนาคตจะลดน้อยลง

และเงินสดจะถูกแทนที่ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ในการทำธุรกรรมทางการเงินแทน

 

 

จุดเริ่มต้นของ Cashless Society คือ ระบบบัตรเครดิต และบัตรเดบิต

การใช้จ่ายชำระค่าบริการในชีวิตประจำวันด้วยบัตร ถือเป็นการยุคแรก ๆ ของการทำธุรกรรมแทนการใช้เงินสด

ในต่างประเทศการทำธุรกรรมด้วยบัตร เป็นที่นิยมมาก ทั้งในเรื่องความสะดวกสบายและความปลอดภัย

บางประเทศมีการใช้บัตร มากกว่าการใช้เงินสดซะอีก

แต่ในประเทศไทยการใช้บัตรเครดิต และบัตรเดบิต ยังน้อยมาก

อาจเป็นเพราะการมีบัตร (โดยเฉพาะบัตรเครดิต) มีเงื่อนไข เช่น

ต้องมีงานประจำ และมีเงินเดือนอย่างน้อย 15,000 บาท

ทำให้คนไทย ไม่สามารถเข้าถึง และมีบัตรได้ไม่มากนัก

อีกทั้งคนไทยจำนวนมาก ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมที่ไม่ใช่เงินสด

หรือพูดง่าย ๆ คือ คนไทยชอบใช้เงินสดนั่นเอง

 

 

 

ทำให้สัดส่วนการใช้เงินสดในไทยยังสูงอยู่มาก น่าจะประมาณ 80% (ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ VISA ประเทศไทย)

แต่เราก็จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ Smartphone

ที่มีการใช้บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) กันมากขึ้น

เช่น การชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา / ค่าไฟ

หรือการชำระบิลต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต / ประกันภัย / ประกันชีวิต ค่าโทรศัพท์ / ค่าอินเตอร์เนต / ฯลฯ

และมีสถิติบ่งชี้ว่าในปีนี้ มีการใช้ e-Payment ในการซื้อขายสินค้าและบริการมากขึ้น

 

ซึ่งจะต่างกับต่างประเทศ เช่น ในประเทศสวีเดน ที่ผมเคยไปอยู่ที่นั่น

การใช้เงินสดที่นั่นน้อยมาก ร้านแทบจะทุกร้าน จะยินดีรับชำระด้วยบัตร

ขนาดซื้อโค้ก กระป๋องเดียว ก็รูดบัตรซื้อได้

ไม่เหมือนเมืองไทย ที่มียอดขั้นต่ำในการใช้บัตร

ซึ่งเข้าใจได้ว่าร้านค้าต้องแบกรับภาระในการธรรมเนียมที่เกิดขึ้น

แต่ถ้าการทำธุรกรรมที่ไม่ใช่เงินสด ยังใช้งานยาก

ก็อาจเป็นอุปสรรคที่คนไทยจะยังคงใช้เงินสดอยู่

 

ไหน ๆ พุดถึงประเทศสวีเดนแล้ว

ประเทศสวีเดน น่าจะเป็นประเทศแรก ๆ ในโลก

ที่ประกาศเปลี่ยนรูปแบบการใช้จ่ายให้กลายเป็นเงินแบบดิจิทัลทั้งหมด

ขนาดส่งจดหมายเค้ายังคิดจะใช้ SMS ส่งไปรษณีย์แทนแสตมป์ เลย

และจะค่อย ๆ ลดการใช้เงินสดลง จนกระทั่งไม่มีการใช้อีกเลยภายในอีก 15 ปีข้างหน้า

 

ส่วนในประเทศจีน ตอนนี้มีผู้ใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ Alipay กว่า 270 ล้านราย

ซึ่ง Alipay เป็นของ Ant Financial บริษัทในเครือเดียวกับ Alibaba ของ Jack Ma นั่นเอง

 

 

ถ้าใครไป 7-11 ในไทย หรือร้านค้าตามสถานที่ท่องเที่ยว จะรับชำระเงินด้วย Alipay ด้วย

เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ให้ซื้อของในไทยมากขึ้น

 

 

เอาใจคนจีนสุด ๆ

 

Alipay ในจีน

 

สำหรับในประเทศไทย ตอนนี้ Cashless Society ก็เริ่มมีคนใช้มากขึ้น

เช่น มือถือบางยี่ห้อ มีการพัฒนาระบบชำระเงิน เช่น Samsung Pay

หรือ การที่รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้ PromptPay เพื่อรับภาษีคืนเร็วขึ้น

การโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

และ กระเป๋าเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Wallets)

เช่น True Wallet / mPay / LINE Pay เป็นต้น

 

 

ในปีนี้ธนาคารหลายธนาคารนอกจากลดปริมาณการเปิดสาขาใหม่แล้ว

ยังเริ่มมีการลดสาขา โดยการปิดสาขาแล้ว

และคาดว่าจะมีการลดสาขาลงเรื่อย ๆ

 

 

การใช้ Cashless Society และ e-Payment ในไทย เป็นสิ่งที่เป็นความท้าทาย

เพราะนั่นคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค

ที่การชำระเงินค่าสินค้าและบริการในรูปแบบเดิมๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เช่น

 

การใช้พร้อมเพย์ (PromptPay) จะทำให้เราโอนเงินให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เพียงแค่บอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือ เลขที่บัตรประชาชนเท่านั้น

หรือการรับเงินคืนภาษี ก็รับได้ง่ายดาย

 

การซื้อของออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ หรือ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ

และชำระผ่านบัตรเครดิต / ระบบ e-wallet

 

การจองโรงแรมออนไลน์ เวลาจะไปเที่ยว

ก็สามารถจองตั๋วเครื่องบิน / จองโรงแรมออนไลน์

หรือถ้าจะดูหนัง ก็ตั๋วหนังออนไลน์ แล้วชำระผ่านบัตรเครดิต

 

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีหลายรายการที่เราไม่ต้องจับเงินสดเลย

ดังนั้นหากเราเริ่มหันมาใช้จ่าย และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ มาใช้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น

ยิ่งการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นเท่าไร

การบริการทางการเงินแบบไร้เงินสดก็จะได้รับความนิยมมากขึ้นตามไปด้วย

แล้วมาดูกันว่า Cashless Society จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในไทยหรือไม่ ?

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คุณรู้สึกอย่างไรกับ "Cashless Society คืออะไร ??"
Comment กันได้เลย ...
You can follow tung148, the author of this post, on Twitter and Facebook. If you'd like to contact him, Twitter is the most effective means of doing so.