การเป็นหนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เป็น แต่ถ้าเป็นหนี้แล้วโดนทวงหนี้แบบที่ไม่สมควรได้รับ เช่น การข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรง
มาดูกันว่า การทวงหนี้แบบไหน ที่ทำได้ แบบไหนที่ผิดกฎหมาย
หลายคนอาจไม่รู้ว่า การติดตามทวงถามหนี้ หรือ การทวงหนี้ มีพรบ. คุ้มครองนะครับ
โดย พรบ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มีอำนาจคุ้มครองทั้ง
“หนี้ในระบบ” และ “หนี้นอกระบบ“
ดังนั้นการจะไปทวงหนี้ใคร ไม่ใช่จะทำแบบสุ่มสี่สุ่มหน้านะครับ
ไม่งั้นอาจโดนร้องเรียนได้
มาดู วิธีการทวงหนี้แบบถูกกฎหมายกัน
การทวงหนี้แบบถูกกฎหมายต้องทำแบบนี้
ช่วงเวลาในการติดต่อทวงหนี้
ถ้าเป็นวันธรรมดา จันทร์ ถึง ศุกร์
ต้องภายในเวลา แปดโมงเช้า ถึงสองทุ่ม (8.00 – 20.00 น.) เท่านั้น
แต่ถ้าเป็นวันหยุดราชการ จะทวงหนี้ได้แค่
เวลา แปดโมงเช้า ถึงหกโมงเย็น (8.00 – 18.00 น.) เท่านั้น
ส่วนวันเสาร์ และอาทิตย์ ห้ามทวงหนี้
หลังจากที่ติดต่อลูกหนี้ตามเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ผู้ทวงหนี้ต้องแจ้ง ผู้ผู้ทวงถาม และชื่อเจ้าหนี้
พร้อมทั้งจำนวนหนี้ที่ต้องชำระ ให้ลูกหนี้ทราบด้วย
ไม่งั้นผิดกฎหมาย
โดยผู้ทวงหนี้จะต้องติดต่อตามสถานที่ ที่ลูกหนี้แจ้งไว้เท่านั้น
จะไปติดต่อที่อื่น ๆ ไม่ได้ เช่น ถ้าลูกหนี้แจ้งสถานที่ติดต่อเป็นบ้าน
จะไปทวงหนี้ที่ ที่ทำงานของลูกหนี้ไม่ได้ ผิดกฎหมาย
และถ้าลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว ต้องออกหลักฐานการชำระหนี้
ให้ลูกหนี้ด้วย
ทีนี้มาดูกันว่าการทวงหนี้แบบไหนบ้างที่ผิดกฎหมาย ทำไม่ได้
1. ทวงในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เชื่อว่าผู้ทวงหนี้เป็นหน่วยงานของรัฐหรือศาล
2. ทวงถามกับบุคคลอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้
3. ทวงหนี้โดยการข่มขู่ ดูหมิ่นหรือใช้ความรุนแรง
4. เจ้าหน้าที่รัฐประกอบธุรกิจประเภททวงถามหนี้
หรือสนับสนุนทวงถามหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ของตน
5. เรียกค่าธรรมเนียมเกินอัตราที่คณะกรรมการการกำกับการทวงหนี้กำหนด
6. เสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค ทั้งที่รู้ว่าบูกหนี้ชำระไม่ได้
7. ส่งโทรสาร ไปรษณียบัตร ใช้ข้อความหรือสัญลักษณ์บนซองจดหมาย
ที่สื่อให้เข้าใจว่าเป็นการทวงหนี้ชัดเจน
ถ้าผู้ทวงหนี้ทำการทวงหนี้ 1 ใน 7 ข้อนี้ก็ร้องเรียนได้ที่ต่อไปนี้
ที่ว่าการอำเภอ / ที่ทำการปกครองจังหวัด / สถานีตำรวจ /
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง / กรมการปกครอง/ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้เลยครับ
โดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
หรือ ศคง. ได้ทำเป็น Infographic สรุปให้เข้าใจง่าย ดังนี้