หลายคนที่ขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ คงอยากรู้ว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร? กรมสรรพากรได้อธิบายภาษีที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซได้ดังนี้

ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียน ในประเทศไทย มีรายได้จากการ ขายสินค้า หรือให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับ ผู้ประกอบการค้าขาย ที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้น มารวมคำนวณ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้และ มีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

 

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณ กับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน ของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป

 

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย (เลือก) หักค่าลดหย่อนตามกฎหมาย
จากการขายสินค้า 1. เป็นการเหมา 1. ส่วนตัว
จาการให้บริการ 2. ตามความจำเป็นและสมควร 2. คู่สมรส
(หักค่าใช้จ่ายจริง) 3. บุตร
4. เบี้ยประกันชีวิต
5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
6.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
7. เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
8. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
9. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา
10. ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตร พิการหรือทุพพลภาพ
11. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา
12. เงินบริจาค

 

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิธีที่ 1

เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท ได้รับยกเว้น
เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท อ้ตรา 5%
เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท อ้ตรา 10%
เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท อ้ตรา 15%
เงินได้สุทธิ 750,001-1,00,000 บาท อ้ตรา 20%
เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท อ้ตรา 25%
เงินได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท อ้ตรา 30%
เงินได้สุทธิ 4,000,000 ขึ้นไป อ้ตรา 35%

 

 

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิธีที่ 2

กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินเดือน มีจำนวนรวมตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้คูณด้วย 0.005 ถ้าภาษีที่คำนวณได้ตามวีธีที่ 2 มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี

 

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ณ ที่ใด ๆก็ตาม ต้องนำรายได้ จากการประกอบกิจการ มารวมคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบ แสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

ประเภทกิจการ อัตราภาษี ร้อยละ
1. กิจการ SMEs กำไรสุทธิ
1 – 300,000 บาท ยกเว้น
300,001-1,000,000 บาท 15
1,000,001 บาทขึ้นไป 20
2. อื่น ๆ 20

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

 

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ

ภาษีขาย = ฐานภาษี x อัตราภาษี

 

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

 

หรือถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจดูคลิปการสัมมนาเรื่อง “การเสียภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce” จัดบรรยายโดย วิทยากรจากกรมสรรพากร แบ่งเป็น 4 เรื่อง ได้แก่

1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีอากร
2.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

แล้วธุรกิจอีคอมเมิร์ซไหนบ้างละ ที่จะต้องเสียภาษี? กรมสรรพากรได้แบ่งออกเป็น 10 ประเภทดังนี้

1. Catalog Website เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า

2. e-Shopping เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า

3. Community Web การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง

4. e-Auction (electronic auction) เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า

5. e-Market Place หรือ Shopping Mall เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์

6. Stock Photo เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล

7. Google AdSense การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิ้ล

8. SEO หรือ Search Engine Optimization การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรกๆ

9. Affiliate Marketing เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการ

10. Game Online การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์

 

หรืออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คุณรู้สึกอย่างไรกับ "ภาษีอีคอมเมิร์ซ Taxation of e-commerce"
Comment กันได้เลย ...
You can follow tung148, the author of this post, on Twitter and Facebook. If you'd like to contact him, Twitter is the most effective means of doing so.